WOODEN PALLETS
Manufacturers and distributors of wooden pallets, wooden packaging boxes and rough "sawn to size" wood in various sizes.
Quality locally sourced sustainable materials

Wider
Oct 26, 2021
IPPC และ ISPM15 อะไรคือ
อนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention, IPPC)
เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศซึ่งเกิดจากการที่ประเทศภาคีลงนามให้สัตยาบันร่วมกันโดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มีผลบังคับใช้เป็นฉบับแรกใน พ.ศ. 2495
ซึ่งอนุสัญญา IPPC มีการปรังปรุงแก้ไขอีกหลายครั้งต่อมา และในปี พ.ศ. 2538 มีการเจรจาการค้ารอบอุรุกวัยมีผลให้เกิดการจัดระเบียบการค้าโลกขึ้นใหม่ และมีการจัดตั้ง The World Trade Organization (WTO) ซึ่งให้ความสำคัญต่อการใช้มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี โดยในส่วนของสินค้าเกษตรประเทศสมาชิก WTO ต้องตระหนักถึงความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ดังนั้นจึงมีการปรังปรุงแก้ไขสาระของอนุสัญญา IPPC ให้สอดคล้องกับ SPS ในปี 2540 ซึ่งอนุสัญญาที่ปรับปรุงแก้ไขมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2548 จนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของ IPPC
คือ สร้างความมั่นใจต่อประสิทธิภาพการป้องกันการเข้ามาและเกิดการแพร่ระบาดของศัตรูพืช (แมลง โรคพืช วัชพืช) ที่ติดมากับพืช ผลิตผลจากพืช และวัสดุอื่นๆที่มีโอกาสเป็นพาหะของศัตรูพืช (วัสดุบรรจุภัณฑ์ ดิน เครื่องจักร และ อุปกรณ์) จากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง รวมทั้งสนับสนุนมาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมศัตรูพืชเหล่านั้น นอกจากนี้ IPPC ฉบับปัจจุบันได้ขยายให้มีการอารักขาพืชทุกชนิด ได้แก่ พืชปลูก พืชในสภาพธรรมชาติ (ป่าไม้) และ พืชน้ำ มีการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศด้านมาตรการสุอนามัยพืช (International Standard Phytosanitary Measures, ISPMs) เพื่อให้การดำเนินมาตรการด้านสุขอนามัยพืชของประเทศต่างๆมีความสอดคล้องกัน ซึ่งปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) มาตรฐาน ISPMs ที่ประกาศใช้แล้วมี 32 เรื่อง
บทบาทที่สำคัญของ IPPC
คือ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2552) อนุสัญญา IPPC มีประเทศภาคี 170 ประเทศ (รวมทั้งประเทศไทย)ประเทศภาคีมีการประชุมปีละ 1 ครั้ง เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมกันในด้านต่างๆ เช่น ด้านการจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISPMs) ด้านความช่วยเหลือทางวิชาการ ด้านการยุติข้อพิพาท และด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นต้น
การบริหารงานภายใต้อนุสัญญา IPPC
1. คณะกรรมาธิการด้านมาตรการสุขอนามัยพืช (Commission on Phytosanitary Measures, CPM) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีประเทศละ 1 คน
2. สำนักคณะกรรมาธิการด้านมาตรการสุขอนามัยพืช (CPM Bureau) ประกอบด้วยผู้แทนที่ได้รับคัดเลือกจากประเทศภาคี IPPC 7 คน ที่มาจากแต่ละภูมิภาคของ FAO
3. สำนักเลขาธิการ IPPC (IPPC Secretariat) จัดตั้งจากบุคลากรภายใต้หน่วยงานอารักขาพืชของ FAO
4. คณะทำงานเฉพาะกิจจัดทำแผนกลยุทธ์และความช่วยเหลือด้านวิชาการ (Informal Working Group on Strategic Planning and Technical Assistance) ประกอบด้วย CPM Bureau และผู้แทนจากประเทศภาคี IPPC
5. องค์กรอารักขาพืชระดับประเทศ (National Plant Protection Organization, NPPO) เป็นหน่วยงานที่ประเทศภาคีตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบหน้าที่ที่ระบุไว้ในอนุสัญญา IPPC
6. องค์กรอารักขาพืชระดับภูมิภาค (Regional Plant Protection Organization, RPPO) เป็นองค์กรระดับภูมิภาค ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคกับสำนักเลขาธิการ IPPC ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญา IPPC
อ้างอิงจาก : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ